top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนSathit Jittanupat

เป๊ะเป๊ะ + กะกะ = เปะปะ, "I don't know"

คุณ "โจ้ ธนา" เคยเล่าเรื่องงานที่ผ่านมาของตัวเองอยู่หลายครั้ง เขาใช้วิธีคิดแบบ "เป๊ะเป๊ะ" เมื่อต้องสื่อสารกับคนที่มาจากสายการเงิน และ คิดแบบ"กะกะ" เมื่อคุยกับฝ่ายการตลาด


สำหรับผู้ที่ไม่เคยได้ยินเรื่องนี้ อาจมีบางคนรู้สึกตะหงิดในใจ อยากให้บอกว่า "โจ้ ธนา" คือใคร สำคัญยังไง ที่รู้จักแล้ว ก็อยากรู้ว่าเล่าไว้ที่ไหน เมื่อไหร่ ถ้าคุณรู้สึกเช่นนี้ คุณน่าจะมีทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพนักบัญชี


New Normaler คุณเคยได้ยินคำเหล่านี้บ้างไหม Agility, Risk, Resilience, Engagement, Personalization, Trust, IOT, Big Data, AI


ที่ผ่านมา ความสำเร็จขององค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ มาจากข้อมูล "เป๊ะเป๊ะ" ภายในองค์กร เอามาใช้ควบคุมและวางแผน ที่เราเรียกว่า ERP - Enterprise Resource Planning กล่าวได้ว่า ระบบบัญชีแทบทั้งโลก ออกแบบมาเพื่อรวบรวมข้อมูล "เป๊ะเป๊ะ" ให้ผู้บริหารใช้เป็นผนังและกำแพงเหล็ก


คนในองค์กรยุคใหม่ จำเป็นต้องเชื่อมโยงและทำงานประสานกัน บางคนต้องรับผิดชอบงานหลายมิติ ต้องสลับหมวกหลายใบ เรื่องราวต่อไปนี้ ประกอบด้วยเรื่องหลายเรื่องที่ไม่เกี่ยวกัน และในท้ายที่สุด คุณอาจหลอมรวมให้กลายเป็นความรู้ "เปะปะ" ในสไตล์ของคุณได้

  • สมอง 2 ซีก

  • เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

  • O-data & X-data

  • ERP II is dead, long live CRM

  • "I don't know" Steve Jobs'a Advice



สมอง 2 ซีก

ผมเติบโตมา ในยุคที่พ่อแม่ไม่เคยรู้เรื่องพวกนี้ เราถูกเลี้ยงมา ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีเหตุผล ไม่เพ้อฝัน อ่อนไหวคืออ่อนแอ แต่เชื่อว่าพ่อแม่สมัยนี้ น่าจะเคยผ่านตาเรื่องของสมอง 2 ซีก ที่มีอธิบายอยู่ในเพจของนักจิตวิทยาเด็กทั้งหลาย ทุกวันนี้ยังมีผู้ใหญ่ที่เติบโตมาประมาณนี้ ยังขับเคลื่อนอยู่ในองคาพยพ เป็นวัฒนธรรมกระแสหลักขององค์กร


อายุเฉลี่ยของคนในองค์กร มีความหมายอย่างไร?


เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

การสร้าง Model เพื่อทำนายแนวโน้มทางเศรษฐกิจ วิเคราะห์ปัจจัยทางตลาด ในยุคสมัยที่ผ่านมานักเศรษฐศาสตร์คิดว่า มนุษย์ หรือ ผู้บริโภค เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล เมื่อตัดสินใจซื้ออะไรสักอย่าง ต้องคำนึงถึง ความคุ้มค่าสูงสุด ทุกอย่างสามารถวัดค่าออกมาใช้คำนวณได้ตรงไปตรงมา เมื่อคำทำนายคลาดเคลื่อนก็เลยคิดว่า เป็น factor ที่เกิดขึ้นตามปกติ


เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม กลับบอกว่า มนุษย์ เป็นผู้บริโภคที่เหลวไหล ไม่เคยใช้เหตุผลตรงไปตรงมาในการตัดสินใจซื้อสินค้า ความคุ้มค่าสูงสุดไม่อาจใช้กับทุกคน การละเลย ไม่เข้าใจตรงนี้ ทำให้ตั้งค่าตัวแปรผิดตั้งแต่ต้น Model ที่ทำนายย่อมผิดพลาด


เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม - โตมร สุขปรีชา, https://www.the101.world
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม - โตมร สุขปรีชา, https://www.the101.world

O-data & X-data

Simon Carpenter จาก SAP UK กล่าวไว้ว่า องค์กรยุคใหม่ จะต้องมีข้อมูลทั้งสอง 2 แบบ คือ

  • Operational data (O-data) ข้อมูลที่เกิดขึ้นในระบบงานในองค์กร

  • Experience data (X-data) ข้อมูลที่รวบรวมจากบริบทแวดล้อมต่างๆ

O-data comes from enterprise applications like ERP and supply chain...
X-data comes from things like customer feedback, Net Promoter Score, product reviews, brand sentiment, and employee engagement.

O-data ช่วยให้เรารู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น และ X-data ช่วยให้เรารู้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น


ERP is dead, long live ERP!
ERP is dead, long live ERP!

ERP II is dead, long live CRM

เมื่อปี 2000 Gartner เคยมีงานวิจัยว่า "ERP is dead, long live ERP II" ทำนายถึงระบบ ERP สมัยใหม่ ที่ต้องใช้เทคโนโลยี internet เชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภายนอก ผนวกรวม Supply Chain (SCM) และ Customer Relationship (CRM) เข้ามาเป็นระบบเดียวกัน เรียกว่า ERP II


ในปี 2017 ได้มีงานวิจัย ถึงสาเหตุที่องค์กร แยกใช้ ERP และ CRM แทนที่จะเป็นระบบ ERP II อย่างที่เคยทำนายไว้

  • ตอนที่พัฒนาระบบ ERP ไม่ได้รวมสเปค CRM อยู่ด้วย

  • CRM ที่ผนวกอยู่กับ ERP มีราคาสูง

  • ต้องการเลือก CRM ที่ทันสมัยและใช้งานง่าย

  • ต้องการคุณสมบัติและความสามารถของ CRM ที่มากกว่า


"I don't know" Steve Jobs's Advice

7 ปีก่อนที่ Apple จะมี iPhone ...

ช่วงเวลานั้นเกิดวิกฤติฟองสบู่ dot com

บริษัทที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่อย่าง Salesforce

รู้สึกไม่มั่นใจกับไอเดียของตนเอง

จึงไปขอคำแนะนำจาก Steve Jobs


เหตุการณ์ในวันนั้น

Marc Benioff, CEO ของ Salesforce

เปิดโปรแกรมให้ Steve ดู


"มันเจ๋งมาก"

เพียงไม่นาน Steve ก็เข้าใจ

และให้คำแนะนำบางอย่าง

ก่อนจากกัน

Steve ให้คำแนะนำสุดท้ายว่า

"พวกเอ็งต้องมี Application Economy"

ตอนนั้นไม่มีใครเข้าใจ

เมื่อขอให้ Steve ช่วยอธิบาย

เขาบอกว่า

"I don't know"



อ้างอิง





ดู 25 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

תגובות


Post: Blog2_Post
bottom of page