top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนSathit Jittanupat

QR in Warehouse Process

ข้อได้เปรียบของ QR Code ที่เหนือกว่า Bar Code คือ ใช้แทนข้อความภาษาอื่นที่ไม่ใช่ตัวเลขและภาษาอังกฤษได้ นอกจากนี้ยังรองรับข้อความยาวได้ถึง 4000 ตัวอักษร ขณะที่ Bar Code ได้แค่ 20 ตัวอักษร ดังนั้นการใช้ QR Code มาช่วยอำนวยความสะดวกใน operation การทำงานต่างๆ จึงสามารถพลิกแพลงได้หลากหลาย



โจทย์ที่ได้รับมาในงานล่าสุดคือ ทำ QR Code ติดที่พาเลทในคลังสินค้า เพื่อสามารถตรวจสอบได้ว่า ภายในโกดังมีสินค้าอะไรอยู่ที่พาเลทไหนบ้าง แต่ละพาเลทอยู่ที่ตำแหน่งโซนไหนในโกดัง


สถานการณ์จริงตอนรับสินค้าเข้าโกดัง มีการยกพาเลทเข้าไปเก็บ ทำอย่างไรจึงตรวจสอบได้ว่าสินค้านั้นถูกยกไปเก็บในตำแหน่งหรือโซนที่กำหนดไว้ นอกจากนี้การเบิกสินค้าจะต้องยกพาเลทออกมา บางครั้งอาจเบิกสินค้าไม่หมดพาเลท สินค้าที่เหลือจะต้องยกกลับไปเก็บ และอาจไม่ได้เก็บที่เดิม


Version 1 — QR as a Code

ในการออกแบบครั้งแรก เราคิดว่าจะต้องทำโปรแกรมเพิ่ม ผู้ใช้ต้องเปิดโปรแกรมที่ทำขึ้นมานั้น แล้วใช้เครื่องอ่าน QR Code อ่านรหัสพาเลท (Pallet ID) เข้ามาในช่องรับข้อมูล เพื่อทำงานตามหัวข้อที่ต้องการ


ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในโกดังนั้นแตกต่างจากงานแคชเชียร์ คือ สินค้าไม่ได้เคลื่อนที่มาหาคอมพิวเตอร์เพื่อ Check Out เสมอไป ยังมีกระบวนการของ Checker ตรวจสอบการวางสินค้า หากจะอ่าน QR Code จะต้องเอาคอมพิวเตอร์ไปหาพาเลทสินค้าที่วางอยู่ในที่ตั้ง


นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ยังไม่ลงตัว เช่น การกำหนดสเปคของอุปกรณ์ที่นำมาใช้งานร่วมกัน ทั้งคอมพิวเตอร์หรือโน็ตบุ๊คและเครื่องอ่าน QR Code ที่เหมาะสม หากสภาพการทำงานบางขั้นตอนไม่ได้นั่งอยู่กับโต๊ะจะออกแบบ operation อย่างไร


ทางเลือกที่ใช้โทรศัพท์มือถือหรือแทบเล็ตที่มีกล้องในตัวอ่าน QR Code แทนก็ดูเหมือนจะไม่ง่ายนัก หากใช้ App กล้องทั่วไปที่มีในมือถืออยู่แล้ว อ่าน QR Code มาได้ก็ต้องมีขั้นตอนหลายจังหวะ copy & paste เอาค่ารหัสมาใส่ในโปรแกรม ถ้าจะทำให้ใช้งานสะดวกก็ต้องมีทำเป็น Mobile App ที่ควบคุมกล้องให้อ่าน QR Code และรู้จักความหมายของรหัสนั้น เหมือนกับ Mobile Banking ที่รับ-จ่ายเงินผ่าน QR Code


คุณภาพของสัญญาณ WiFi ภายในโกดัง ก็เป็นความกังวลเช่นกัน



Version 2 — QR as a Link

เราวนเวียนติดๆ ขัดๆ อยู่ในเขาวงกตของ Version 1 จนกระทั่ง Project Leader ของเราเสนอว่า ทำ QR Code ที่ใช้มือถืออ่านแล้วเปิดเข้ามาในโปรแกรมตรงๆ เลยได้ไหม จึงนึกได้ว่าเรามัวแต่ไปติดภาพจำของ Traditional System ที่ใช้ QR เป็น code หรือ ID ของสิ่งต่างๆ ทั้งที่ในโลกของมือถือ QR ใช้บอกเส้นทางให้เปิด App เพื่อทำงานหรือแสดงข้อมูลที่ต้องการได้อยู่แล้ว


โดยเฉพาะโปรแกรมของเราเป็น Web App สามารถเรียกใช้งานผ่าน url ด้วย browser ได้อยู่แล้ว ดังนั้นจากเดิม QR ใช้เป็นรหัสพาเลท เช่น SIAB-0123 เราสามารถออกแบบใหม่ให้ QR เป็น url เพื่อเปิดโปรแกรมแสดงข้อมูลและการทำงานสำหรับพาเลทนั้นได้ เช่น https://acc40****/view/SIAB-0123


เมื่อเป็นเช่นนี้ โทรศัพท์มือถือหรือแทบเล็ตของทุกคนก็สามารถนำมาใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม สะดวกกว่าการใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องอ่านรหัส ไม่ต้องทำ Mobile App เพิ่ม นอกจากนี้ยังสามารถใช้สัญญาณโทรศัพท์แทน หากไม่สามารถเชื่อมต่อผ่าน WiFi ได้อีกด้วย



Parsing Link to Code

สรุปว่าการตัดสินใจใช้ QR ให้เป็น Link ช่วยให้ออกแบบกระบวนการทำงานใน Warehouse ยืดหยุ่นและลื่นไหลกว่า ก่อนที่จะจบก็เลยเพิ่มความสามารถเล็กๆ น้อยๆ หากต้องการใช้ QR ที่เป็น Link นั้นไปใช้เป็นรหัส เพื่อ input ข้อมูลหรือทำงานในขั้นตอนอื่นของ Workflow เหมือนการใช้เครื่องอ่านรหัสใน Version 1 เราก็ไม่สูญเสียความสามารถนั้น สามารถดัดแปลงโปรแกรมให้รู้จัก pattern ของ Link แล้วถอดเอาเฉพาะส่วนของรหัสที่อยู่ใน url มาใช้ได้

เช่น https://acc40****/view/SIAB-0123SIAB-0123




Jan 2022

Sathit J.

ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page