ข้อดีของโปรแกรมที่ทำงานผ่าน Cloud คือ ความสามารถในการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในช่วงเริ่มต้นผู้ใช้เรียนรู้การใช้งานโปรแกรม ขณะเดียวกันทางฝั่งโปรแกรมก็ได้เรียนรู้ว่าผู้ใช้มีการใช้งานอย่างไร เพื่อปรับปรุงการทำงาน โดยเฉพาะส่วนที่สำคัญ หรือมีผู้ใช้บ่อยๆ ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
Long Search Detection
สำหรับผู้ใช้เมื่อค้นหา ไม่มีใครอยากได้คำตอบที่ว่างเปล่า และยิ่งเลวร้ายไปกว่านั้นถ้าเสียเวลารอนาน ๆ แล้วได้คำตอบที่ว่างเปล่า
ดังนั้นโปรแกรมจึงพยายามตรวจสอบคำค้น ที่ใช้เวลานานเกินไป เพื่อเรียนรู้ ที่จะปรับปรุงกลไกการค้นหา ให้ดียิ่งขึ้นตลอดเวลา
ฮาว ทู หา ให้ได้คำตอบ
ขณะที่ฝั่งโปรแกรมเรียนรู้จากคำค้น ทางฝั่งผู้ใช้เองก็สามารถเรียนรู้ การใช้คำสั่งพิเศษ ที่ช่วยให้การค้นหาได้ตรงความต้องการของตนยิ่งขึ้น
เข้าใจธรรมชาติของคำตอบ
เมื่อค้นหา ปกติแล้วคำตอบที่ได้ จะเรียงลำดับเริ่มจากข้อมูลใหม่ล่าสุด และจำกัดจำนวนที่ 20 อันดับแรก ดังนั้นหากต้องการหาข้อมูลที่ผ่านไปนานแล้ว อาจไม่ได้คำตอบอยู่ภายใน 20 อันดับ เราสามารถสั่งให้โปรแกรมแสดงคำตอบเพิ่มอีกได้ แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้บ่อยๆ อาจแสดงว่า คำค้นที่ใข้นั้นไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำให้คำตอบไม่อยู่ใน 20 อันดับแรก
ตัวอย่างเช่น การค้นหาเอกสารด้วยคำค้น IV จะได้คำตอบเป็น ข้อมูลบิลหมวด IV 20 อันดับจากล่าสุด ดังนั้นถ้าคำตอบที่ต้องการ เก่าไปกว่านั้น ก็ควรระบุรายละเอียดในคำค้นมากกว่านี้ เช่น เลขที่เอกสารที่ต่อจากหมวด IV6302 หรือหากทราบชื่อผู้เกี่ยวข้องก็สามารถใช้คำค้น IV && สยามแมคโคร ได้
ใช้ && เพิ่มเงื่อนไขค้นหา
สัญญลักษณ์พิเศษ && ในคำค้น ช่วยให้สามารถเพิ่มเงื่อนไขการค้นหา เพื่อให้ได้คำตอบที่ใกล้เคียงที่ต้องการยิ่งขึ้น มีความหมายเท่ากับ "และ" เช่น IV && สยามแมคโคร มีความหมายว่า ให้ค้นเฉพาะข้อมูลที่มีข้อความ IV และ สยามแมคโคร อยู่ในข้อมูลนั้น
ตัวอย่าง
IV && สยามแมคโคร [หาเอกสาร "IV" ที่มีชื่อลูกค้า "สยามแมคโคร"]
OF && PO.120039 [หาเอกสาร "OF" ที่อ้างถึง "PO.120039"]
QT && สมชาย [หาเอกสาร "QT" ของพนักงาน "สมชาย"]
ใช้สัญญลักษณ์พิเศษภายในคำค้น
สัญญลักษณ์ต่อไปนี้ ^ $ + | สามารถใช้ภายในคำค้น แต่มีความหมายพิเศษ
ตัวอย่าง
QT|OF [หาเอกสารหมวด "QT" หรือ "OF"]
^สยาม [หาชื่อที่ ขึ้นต้นด้วย "สยาม"]
0012$ [หาเลขเอกสารที่ ลงท้ายด้วย "0012"]
สยาม+มหาชน [หาชื่อที่มีคำว่า "สยาม" ตามด้วย "มหาชน"]
ใช้ @ชื่อฟิลด์= หาได้เร็วกว่า
การค้นหาโดยใช้ คำค้น เพียงอย่างเดียว เป็นการหาโดยไม่เจาะจงฟิลด์ มีข้อดีคือ ง่ายสำหรับผู้ใช้ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูล แต่ก็ต้องแลกกับประสิทธิภาพในการค้นหา เนื่องจากโปรแกรมต้องเอาคำค้นดังกล่าวไปหา จากหลายๆ ส่วนของข้อมูลพร้อมๆ กัน หากฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่แล้ว ก็จะทำให้การค้นหาใช้เวลานาน
คำค้น QT && สมชาย ถ้าเรามีทั้งลูกค้า และพนักงานชื่อ "สมชาย" เหมือนกัน ก็จะได้คำตอบจากทั้งสองกรณี การเจาะจงชื่อฟิลด์ จึงช่วยให้เราได้คำตอบที่ตรงความต้องการกว่า
ตัวอย่าง
@_name=QT [ค้นหาฟิลด์เลขที่เอกสาร "QT"]
IV && @info.who=สมชาย [ค้นหา "IV" และฟิลด์ลูกค้า "สมชาย"]
ตัวอย่างรายชื่อฟิลด์
@_name เลขที่เอกสาร
@info.who ชื่อผู้เกี่ยวข้อง (ลูกค้า,ลูกหนี้,เจ้าหนี้)
@info.address ที่อยู่
@info.refno เลขที่อ้างถึง
@info.staff ผู้จัดทำเอกสาร
@info.officer พนักงาน
@_items.name ชื่อสินค้าในบรรทัดรายการ
ใช้ @ชื่อฟิลด์== ค้นหาแบบเข้มงวด
กรณีฟิลด์บางฟิลด์ หากเรารู้คำค้นเต็ม สามารถสั่งให้ค้นหาแบบเข้มงวด คือค่าในฟิลด์จะต้องตรงกับคำค้นทุกตัวอักษร (ระวังเรื่องตัวอักษรเล็กใหญ่) เช่น @_name==IV6301-0012 สามารถค้นได้เร็วกว่าใช้ @_name=IV6301-0012 และเร็วกว่า iv6301-0012
ขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูล
ไม่ต้องกังวลกับเทคนิคการใช้คำค้น ข้างต้นจนเกินไป ในช่วงเริ่มต้น หากข้อมูลในระบบยังมีปริมาณไม่มาก จำนวนไม่ถึงระดับหลายแสนข้อมูล ความเร็วในการค้นแบบง่ายกับยาก ผู้ใช้ทั่วไปอาจไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง
Comentarios